วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช
แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมย์บรรพบุรษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน
แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา
สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการคลิกที่นี่
ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ๊ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์
ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนัง สือนิทานอีบุ๊ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์
ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึก ษาที่เรียนในรายวิชา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพ ื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา
โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ๊คที่เป็นฝีม ือของนักศึกษาในหลายๆ
สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลด เก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย
นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำ บล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา
จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมา ย
อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังส ือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ๊ค
(e-book)
ด้วย อย่าลืมบล็อก atinno.blogspot.com นะค่ะ ^___^!!!!!
มีหนังสือนิทานอีบุ๊คที่เป็นฝีม
นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำ
อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังส
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย
ภาษาบาลี – สันสกฤต
วรรค/แถว
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
วรรค
กะ
|
ก
|
ข
|
ค
|
ฆ
|
ง
|
วรรค
จะ
|
จ
|
ฉ
|
ช
|
ฌ
|
ญ
|
วรรค
ฏะ
|
ฏ
|
ฐ
|
ฑ
|
ฒ
|
ณ
|
วรรค
ตะ
|
ต
|
ถ
|
ท
|
ธ
|
น
|
วรรค
ปะ
|
ป
|
ผ
|
พ
|
ภ
|
ม
|
เศษวรรค
|
ย
ร ล ว ส ห ฬ ํ(อัง)
( ศ,ษ ) (สันสกฤต)
|
ท่องว่า
วรรคกะ ไก่
ไข่ ควาย
ฆ่า งู
วรรคจะ จับ
ฉัน ชู ฌ
เฌอ หญิง
วรรคฏะ ฏัก ฐาน ฑอ
เฒ่า ณิง
วรรคตะ เต่า ถูก ทิ้ง ธ ธง
นาย
วรรคปะ ปลา
ผัก พัก
ภพ ม้า
เศษวรรค ยาย
เรา เล่า ว่า
เสือ หาย แฬ้ว ํ(อัง)
ในภาษาบาลีจะมีการใช้ตัวสะกดตัวตามที่แน่นอนตามกฎเกณฑ์ คือ
ในภาษาบาลีแถวที่จะใช้เป็นตัวสะกดได้คือแถวเลขคี่ คือ ๑, ๓ และ ๕ ดังนี้
แถวที่ ๑ สะกด แถวที่ ๑, ๒
ตาม
แถวที่ ๓ สะกด แถวที่ ๓, ๔
ตาม
แถวที่ ๕ สะกด แถวที่ ๑ – ๕
ตาม
*** ตัวอย่างคำ ***
แถวที่ ๑ สะกด อุกกาบาต ทุกข์ กิจ(จ) สัจจะ มัจฉา วัฏ(ฏ)สงสาร เมตตา วัตถุ
แถวที่ ๓ สะกด อัคคี พยัคฆ์ รัช(ช)กาล มัชฌิม วั(ฑ)ฒนา วุ(ฑ)ฒิ นิพพาน
แถวที่ ๕ สะกด บัลลังก์ สังข์ องค์ เกณฑ์ นิมนต์ นันท์ กัมปนาท สัมผัส
*** ตัวหนา = ตัวสะกด ตัวเอียง = ตัวตาม
การเป็นพิธีกรที่ดี
การเป็นพิธีกร
หน้าที่ของพิธีกร
พิธีกร (Master of Ceremony: MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ /
อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ
เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง
/ ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ
ในแต่ละกิจกรรม
1. แจ้งกำหนดการ
2. แจ้งรายละเอียดของรายการ
3. แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ
2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น
1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
3. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน
3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น
1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
3. แจ้งขอความร่วมมือ
4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
5. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี
/ รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น
6. กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี
7. กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ
8. กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล
4. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น
1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
2. มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ
5. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน
เช่น 1. กล่าวละลายพฤติกรรม
2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี
6. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ
เช่น
1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
โฆษกผู้ประกาศ คือ
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร กับประชาชน
เพื่อให้ได้รับความสนับสนุนร่วมมือ อันจะทำให้กิจการงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ
ได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่แตกต่างในแต่ละกิจกรรม เช่น
• การบอกกล่าว
• การชี้แจง
• การเผยแพร่
• แก้ความเข้าใจผิด
• การสำรวจประชามติ
บทบาทการทำหน้าที่ของโฆษกผู้ประกาศ
โดยการใช้เครื่องมือด้านสื่อต่าง ๆ เช่น เอกสาร สื่อวิทยุโทรทัศน์ จัดเวทีประชาคม
เดินสำรวจประชามติ เป็นกระบวนการประชาสัมพันธ์ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป
เช่นกระบวนการจัดกิจกรรมโดยใช้เวทีประชาคม ผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ ในการควบคุม
ดำเนินการให้ไปตามวัตถุประสงค์ในแต่ละครั้ง
ผู้ที่เป็นพิธีกรในการดำเนินการรายการดังกล่าว จะต้องมีความเข้าใจ ในกระบวนการ
และรู้หลักการวิธีการ ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น ๆ
เป็นภาระหน้าที่ของพิธีกรทั้งสิ้น ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้อง
ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพิธีกรดังต่อไปนี้
พิธีกร คือ
บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตนจากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น
ไม่ใช้สักแต่จะพูดอย่างเดียวไม่
มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่จะต้องรับผิดชอบในด้านการพูดในตำแหน่งพิธีกร
ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง
ๆ พิธีกรหรือโฆษก อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในกิจกรรมนั้น ๆ
สร้างความเข้าใจในข้อมูล ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของข้อเท็จจริง
ให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้อง ปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม พิธีกร
จะถูกกล่าวถึงมากในกรณีที่เป็นทางการ
ส่วนโฆษกจะเป็นคำที่เรียกใช้ในส่วนที่ก่อนถึงเวลาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
หรือบางครั้งในท้องถิ่นชนบทจะเรียกรวมกันเช่น “ โฆษกพิธีกร ดำเนินการ ต่อไป ” ไม่ว่าจะเรียกว่าพิธีกรหรือโฆษกในกิจกรรมนั้น
ๆ จะต้องเป็นการพูดคุยในที่ชุมชน นั่นคือต่อคนส่วนมากทุกครั้งเป็นการพูดในที่ชุมชน
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หากพูดผิดก็จะทำให้เสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร
และถ้าหากทำดีพูดดีก็จะมีสง่าราศีแก่ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิต ของสุนทรภู่ที่ว่า
“ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง ”
ฉะนั้น
คนที่เป็นพิธีกรที่ดี มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ
กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้ เช่น
• เตรียมพร้อม
• ซ้อมดี
• ท่าทีสง่า
• หน้าตาสุขุม
• ทักที่ประชุมอย่าวกวน
• เริ่มต้นให้โน้มน้าว
• เรื่องราวให้กระชับ
• จับตาที่ผู้ฟัง
• เสียงดังให้พอดี
• อย่าให้มีอ้ออ้า
• ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่
จะมี 2 กลุ่มคือ
1. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
2. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ ไหวพริบทุกคนทำได้
การสร้างคำ
เรื่อง การสร้างคำ
พยางค์ คือ เสียงที่เราเปล่งออกมาครั้งหนึ่ง อาจจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
องค์ประกอบของคำ
คำประกอบด้วยพยางค์และความหมาย พยางค์ที่ไม่มีความหมายไม่ว่าจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ไม่จัดเป็นคำ
พยางค์ที่มีความหมายอาจเป็นพยางค์เดียว หรือหลายพยางค์ก็ได้จะมีลักษณะเป็นคำ เช่น
ตา = ๑ พยางค์ ๑ คำ
มะพร้าว = ๒ พยางค์ ๑ คำ
กะละมัง = ๓ พยางค์ ๑ คำ
การสร้างคำ
การสร้างคำแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. คำมูล ซึ่งได้แก่คำที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
๒. คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล
คำมูล คือ คำที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะคำหนึ่ง ๆ อาจเป็นคำไทยแท้ คำที่มาจากภาษาอื่นและเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น ป้า แม่ หมอน ลูก ปลา ทอง เกี๊ยว ไมล์ กุญแจ มะนาว นาฬิกา กะลาสี กระจุ๋มกระจิ๋ม
คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล
จะมีรูปลักษณ์ต่าง ๆ กัน ดังนี้
๑. คำประสม
๒. คำซ้อน
๓. คำซ้ำ
๔. คำสมาส
การเขียนกลอนแปด
หลักการแต่งกลอนแปดสุภาพ
ตัวอย่าง
กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน.............อ่านทุกตอนสามวรรคประจักษ์แถลง
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง..............ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน
มีกำหนดบทระยะกะสัมผัส....................ให้ฟาดฟัดชัดความตามกระสวน
วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน..........จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ฯ
ฉันทลักษณ์
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ มีอยู่ ๘ คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
๒. การส่งสัมผัส คำที่ ๘ ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคที่สอง คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓
คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือที่ ๕ ของวรรคที่ ๔ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
๓. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนัก
พยายามหลีกเลี่ยง
๔. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
๕. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๖. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๗. คำที่ ๓ ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
๘. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ ๕-๖-๗ ของทุก ๆ วรรค
๙. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ ๓-๔ ของวรรคสดับและวรรครอง
๑๐. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน
การจดบันทึกการประชุม
การทำงานในปัจจุบันจะต้องใช้การประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ขอทราบความคิดเห็น ตัดสินปัญหา หรืออื่น ๆ และในระหว่างการประชุมจะต้องมีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่อภิปรายในที่ประชุม ซึ่งโดยทั่วไปเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการ หรือบางครั้งอาจมีการมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำหน้าที่ดังกล่าวก็ได้ การบันทึกการประชุมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับใช้ในการอ้างอิงหรือใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานต่อไป ด้วยเหตุนี้ผู้จดบันทึกการประชุมจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประชุมนั้น ๆ เป็นอย่างดี มีประสบการณ์ในการจดบันทึก ตลอดจนสามารถจดจำผู้เข้าประชุมได้ เนื่องจากจะช่วยทำให้บันทึกการประชุมได้อย่างไม่ผิดพลาด หากต้องมีการระบุว่าใครเป็นผู้เสนอเรื่องหรือเสนอความเห็นในที่ประชุม นอกจากนั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้จดบันทึกการประชุมต้องมีสมาธิในการทำงานสูง เพราะการประชุมมักดำเนินต่อเนื่องไปโดยตลอด และบ่อยครั้งที่มีการถกเถียงหรืออภิปรายอย่างยืดยาว กว่าที่จะสรุปเป็นมติได้ในที่สุด จึงต้องอาศัยการติดตามอย่างตั้งใจ หากผู้ทำหน้าที่จดบันทึกขาดสมาธิ จะทำให้บันทึกข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนหรืออาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติงานได้
อย่างไรก็ดี การจดบันทึกการประชุมเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาให้เกิดความชำนาญได้ หากเรียนรู้วิธีการและหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
1. สิ่งที่ต้องจัดเตรียมสำหรับการจดบันทึกการประชุม
ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการหรือขั้นตอนในการจดบันทึกการประชุม สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรกก็คือ การจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้หรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ที่ใช้ในการจดบันทึก ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- สมุดโน้ตหรือกระดาษ ซึ่งควรมีขนาดเดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้และจัดเก็บ พร้อมปากกา 2 ด้าม ควรใช้ปากกาลูกลื่นมากกว่าดินสอ เนื่องจากเขียนได้รวดเร็วกว่าและคงอยู่ได้นานไม่ลบเลือนง่าย
- สมุดบันทึกรายงานการประชุมหรือบัญชีรายชื่อสำหรับให้ผู้มาประชุมลงลายมือชื่อ
- สำเนาระเบียบวาระการประชุม
- รายชื่อสมาชิกหรือกรรมการ
- รายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
- รายงานการประชุมครั้งที่ยังไม่ได้รับรอง
- เอกสารประกอบการประชุม
- เครื่องเล่นแถบบันทึกเสียง พร้อมแถบบันทึกเสียง ในกรณีที่มีการบันทึกเสียงการประชุม
อนึ่ง ผู้จดบันทึกการประชุม อาจจัดเตรียมแบบฟอร์มรายงานการประชุมไว้ล่วงหน้า โดยเขียนชื่อแต่ละวาระลงไปก่อน พร้อมกับเว้นที่ว่างไว้พอประมาณสำหรับการจดบันทึกการประชุม เพื่อให้การจดบันทึกเป็นไปอย่างรวดเร็วและคล่องตัวขึ้น
ฉะนั้น เครื่องมือ เครื่องใช้ และเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ควรจัดเตรียมให้พร้อมก่อนการประชุม เพื่อให้การประชุมตลอดจนการจดบันทึกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยไม่ต้องเสียเวลาจัดหาในระหว่างการประชุม
2. วิธีปฏิบัติในการจดบันทึกการประชุม
การจดบันทึกในระหว่างดำเนินการประชุม อาจเลือกใช้ได้ 3 วิธี คือ2.1จดละเอียดทุกคำพูดของกรรมการหรือผู้เข้าประชุมทุกคนพร้อมด้วยมติ โดยทั่วไป วิธีนี้มักใช้เฉพาะการประชุมในรัฐสภาพหรือการประชุมใหญ่ ๆ ที่จำเป็นต้องบันทึกไว้ให้ชัดเจนว่า ใครพูดหรือเสนอความเห็นว่าอย่างไร ไม่เป็นที่นิยมใช้เหมือนกับวิธีที่ 2 และ 2 โดยเฉพาะในงานธุรกิจ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองแรงงาน ตลอดจนไม่สะดวกในการตรวจสอบ อ้างถึง และรับรองในที่ประชุม2.2จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญ อันเป็นเหตุผลนำไปสู่มติของที่ประชุมพร้อมด้วยมติ2.3จดเฉพาะเหตุผลกับมติของที่ประชุม
3. ขั้นตอนการจดบันทึกการประชุม
การจดบันทึกการประชุมให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนการประชุม กล่าวคือ ผู้ทำหน้าที่จดบันทึกการประชุม ควรศึกษารายงานการประชุมครั้งก่อน ๆ หรือรายงานการประชุมทำนองเดียวกัน เพื่อให้คุ้นเคยกับรูปแบบ ตลอดจนเนื้อหาเรื่องราวที่ควรบันทึกไว้ในรายงานการประชุม อีกทั้งควรตกลงเรื่องการให้สัญญาณกับประธานล่วงหน้า เมื่อมีปัญหาในการจดบันทึก เช่น อาจจำเป็นต้องให้ประธานกล่าวสรุปมิติซ้ำอีกครั้งหนึ่งหรือต้องการความชัดเจนในเรื่องที่อภิปราย ในกรณีนี้เมื่อประธานสังเกตเห็นสัญญาณก็อาจกล่าวทบทวนข้อความสำคัญซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หรือขอให้ผู้เสนอความเห็นกล่าวสรุปอีกครั้ง แต่ถ้าประธานไม่เห็นสัญญาณ ผู้จดบันทึกก็อาจหาโอกาสเรียนถามที่ประชุมด้วยตนเองหรือขอให้มีการทบทวนคำพูดที่กล่าวไปแล้วอีกครั้ง แต่ควรระวังมิให้เป็นการขัดจังหวะการพูดของผู้เข้าประชุม อีกประการหนึ่ง คือ ควรเลือกที่นั่งใกล้ประธานในที่ประชุม เพื่อความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือระหว่างประชุม
หลังจากประจำที่แล้ว ผู้จดบันทึกการประชุมควรดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ (Jennings 1983 : 313-316)
- บันทึกชื่อของการประชุมหรือคณะที่ประชุมพร้อมทั้งวันที่และสถานที่ประชุมให้เรียบร้อย ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น เช่น การประชุมคณะกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ณ ห้องประชุมชั้น 2
- ตรวจสอบรายชื่อสมาชิกหรือกรรมการที่เตรียมไว้อย่างรวดเร็ว เพื่อดูว่าครบองค์ประชุมหรือไม่ การตรวจสอบจำนวนผู้เข้าประชุมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประชุมที่มีการออกเสียงลงคะแนน ดังนั้น จะต้องบันทึกรายชื่อผู้ที่เข้าประชุมหลังจากที่มีการออกเสียงลงคะแนนไปแล้ว หรือผู้ที่ออกจากที่ประชุมก่อนที่การออกเสียงลงคะแนนจะเสร็จสิ้น เนื่องจากคะแนนเสียงทั้งหมดรวมกับผู้ที่ไม่ออกเสียง จะต้องเท่ากับจำนวนผู้เข้าประชุมที่มีสิทธิออกเสียง ด้วยเหตุนี้ ผู้จดบันทึกจะต้องถือว่าผู้ที่ออกจากที่ประชุมคือผู้ที่ไม่มีสิทธิออกเสียงมิใช่ผู้ที่ไม่ออกเสียง
- บันทึกเวลาเริ่มประชุมตามที่เป็นจริง ไม่ว่าจะตรงตามเวลานัดหมายหรือไม่ก็ตาม
- เมื่อมีการรับรองรายงานการประชุม ไม่ว่าจะด้วยการให้ที่ประชุมอ่านด้วยตนเอง หรือการอ่านให้ที่ประชุมฟัง ผู้จดบันทึกจะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ในกรณีที่มีการแก้ไขเพียงเล็กน้อย ให้ลงมือแก้ไขในสำเนารายงานการประชุมที่มีอยู่ โดยใช้ปากกาขีดฆ่าข้อความที่ไม่ต้องการออก และเขียนสิ่งที่ต้องการลงไป ในขณะเดียวกันให้จดบันทึกในสมุดโน้ตด้วยว่า มีการแก้ไขรายงานการประชุม แต่ถ้าต้องมีการแก้ไขมาก ให้ขีดฆ่าข้อความที่ไม่ต้องการในรายงานการประชุมออกและเขียนข้อความที่แก้ใหม่ลงในสมุดจดบันทึก พร้อมทั้งระบุด้วยว่าแก้ไขตรงที่ใดหรือหน้าใด
- ในระหว่างการประชุม ให้บันทึกเรื่องที่ผู้เข้าประชุมเสนอต่อที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็นการเสนอความคิดเห็นหรือการเสนอให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยละเอียด พร้อมทั้งชื่อผู้เสนอ บางครั้งอาจบันทึกชื่อผู้รับรองแต่ละเรื่องด้วยก็ได้ และถ้ามีการออกเสียงลงคะแนน ควรจดจำนวนเสียงที่สนับสนุนและคัดค้านด้วย
- ถ้ามีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อความ ให้พยายามจดข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งคะแนนเสียงที่สนับสนุนและคัดค้าน เมื่อประธานอ่านมติทบทวนอีกครั้ง ให้ตรวจสอบสิ่งที่จดบันทึกลงไปว่าถูกต้องตรงกันกับเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ซึ่งประธานอ่านให้ฟังหรือไม่
- ในระหว่างการอภิปรายในที่ประชุม ให้จดเฉพาะประเด็นสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องจดละเอียดทุกคำพูด แต่ถ้าวาระนั้น ๆ มีการอภิปรายโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง ให้ใช้วิธีจดละเอียดทุกคำพูด ถึงแม้ว่าจะไม่ถ่ายทอดอย่างละเอียดในรายงานการประชุมก็ตาม
สิ่งที่สำคัญคือ ผู้จดบันทึกการประชุมต้องรู้จักเลือกสรรสิ่งที่จะบันทึก กล่าวคือ สามารถแยกแยะประเด็นสำคัญออกจากพลความได้ ซึ่งส่วนหนึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดและตัวผู้พูด อันจะช่วยให้ตัดสินใจเลือกจดบันทึกได้อย่างถูกต้องหลังจากที่มีการลงมติแล้ว อาจมีการอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดในการดำเนินการ การให้ข้อสังเกต ผู้จดบันทึกจะต้องจดรายละเอียดที่มีผู้เสนอทั้งหมดโดยให้ทำเครื่องหมายหรือเขียนระบุไว้ที่ข้อเสนอแนะ ซึ่งที่ประชุมลงมติเห็นชอบหรือขีดฆ่าข้อเสนอแนะที่ไม่ได้รับความเห็นชอบออก และควรบันทึกชื่อของผู้เสนอความเห็นไว้ในกรณีที่มีข้อสงสัย จะได้สามารถซักถามหลังการประชุมได้ถ้ามีวาระการแต่งตั้งคณะกรรมการ ให้จดชื่อของคณะกรรมการ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของกรรมการ (ถ้ามี) ตลอดจนผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการด้วในกรณีที่มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงาน ให้บันทึกชื่อลงไปทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่เดิม และผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ พร้อมทั้งระบุหน่วยงานต้นสังกัดด้วยจดบันทึกอย่างมีระเบียบ เพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นที่เด่นชัด เช่น อาจเว้นบรรทัดระหว่างวาระ เพื่อให้สามารถเห็นความแตกต่างของแต่ละเรื่องได้ และเพื่อให้มีเนื้อที่สำหรับแก้ไขหรือเพิ่มเติมถ้อยคำต่าง ๆ ระบุชื่อวาระให้ชัดเจน ใส่วงเล็บข้อความที่จะต้องเขียนรายงานอย่างละเอียดทุกคำพูด โดยใช้ปากกาสี หรือหาวิธีที่จะทำให้เรื่องที่จะต้องมีการนำไปปฏิบัติเห็นเด่นชัดที่สุด โดยอาจใช้ปากกาวงรอบข้อความนั้น ๆ หรือใช้ปากกาสีสะท้อนแสงขีดตรงข้อความที่ต้องการบันทึกกำหนดการประชุมครั้งต่อไป โดยระบุวัน เวลา และสถานที่จดเวลาเลิกประชุมตามที่เป็นจริงเมื่อเลิกประชุมแล้ว ให้สอบถามปัญหาข้อสงสัยที่เกิดจากการจดบันทึกการประชุม เช่น อาจตรวจสอบตำแหน่งของผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง หรือสอบถามเกี่ยวกับชื่อสินค้า ศัพท์เทคนิคบางคำที่ไม่คุ้นเคย หรือรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางประการที่จำเป็นต่อการจัดทำรายงานการประชุมในภายหลัง
การจดบันทึกการประชุมให้มีประสิทธิภาพควรใช้วิธีการจดบันทึกย่อหรือชวเลขด้วย เพื่อช่วยให้จดบันทึกได้รวดเร็วขึ้น แต่มีข้อควรระวังคือจะต้องแน่ใจว่าสามารถจำสิ่งที่ตนเองจดย่อไว้ได้ว่าหมายถึงอะไร
สิ่งที่ยากลำบากที่สุดประการหนึ่งสำหรับผู้จดบันทึกการประชุมก็คือ การพิจารณาว่าข้อมูลใดควรจดบันทึกและข้อมูลใดควรเว้น ซึ่งมักเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่เริ่มทำหน้าที่บันทึกการประชุม และยังขาดประสบการณ์ จึงทำให้การแยกแยะประเด็นสำคัญหรือเรื่องที่ควรบันทึกเป็นสิ่งที่ยากต่อการปฏิบัติ หนทางแก้ไขนั้นคงต้องอาศัยความพยายามในการเรียนรู้และประสบการณ์ในการจดบันทึกการประชุมในระยะแรกอาจขอความช่วยเหลือจากประธานในที่ประชุมหรือขวนขวายศึกษาหาความรู้ จากผู้มีประสบการณ์หรือจากตัวอย่างรายงานการประชุมที่มีลักษณะเดียวกัน และเมื่อต้องทำหน้าที่บันทึกการประชุมเป็นเวลานานพอสมควร ปัญหาดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หมดไป4. การบันทึกเสียงการประชุม
ในการประชุมที่ได้รับอนุญาตให้บันทึกเสียงได้ เลขานุการในที่ประชุมหรือผู้มีหน้าที่จดบันทึกการประชุมควรจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องบันทึกเสียง และจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการบันทึกเสียงให้พร้อม เช่น เครื่องเล่นแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกเสียง ซึ่งควรมีความยาวเพียงพอที่จะบันทึกการประชุมแต่ละครั้งไว้ได้ภายในม้วนเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ควรระลึกไว้เสมอว่า อาจมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น ไฟฟ้าอาจขัดข้อง เครื่องเล่นแถบบันทึกเสียงไม่ทำงาน เป็นต้น ดังนั้น จึงควรจดบันทึกการประชุมไปด้วยในระหว่างที่มีการบันทึกเสียง
ในขณะที่การประชุมกำลังดำเนินการอยู่ ควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่อาจบันทึกเสียงไว้ได้ เช่น บางครั้งประธานอาจมิได้เอ่ยชื่อผู้ที่เสนอความเห็น หรือทบทวนข้อความในเรื่องที่มีการออกเสียงลงคะแนน หรือในการเสนอความเห็น ผู้พูดอาจไม่ระบุวาระหรือหัวข้อที่ต้องการอภิปรายอย่างชัดเจน เนื่องจากทุกคนกำลังพิจารณาเอกสารประกอบการประชุมอยู่แล้วในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้จึงควรจดบันทึกการประชุมประกอบการบันทึกเสียงด้วยโดยอาจจะจดเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ซึ่งมักไม่ปรากฏในเทปบันทึกเสียง ดังนี้
๑.วัน เวลา และสถานที่ประชุม
๒.รายชื่อผู้เข้าประชุม
๓.เวลาเริ่มประชุม
๔.หัวข้อหรือเลขหน้าที่มีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายงานกาประชุม
๕.ชื่อผู้กล่าวรายงาน เสนอเรื่อง หรือรับรอง พร้อมทั้งผลการออกเสียง
๖.เลขหน้าหรือย่อหน้าของเอกสารที่มีการอภิปรายพาดพิงถึง
๗.ข้อความโดยละเอียดแต่ละมิติ ในกรณีที่ประธานมิได้กล่าวทบทวน
๘.ชื่อผู้รับงานไปดำเนินการ๙.เวลาเลิกประชุม
ในกรณีที่ผู้อภิปรายมิได้แจ้งชื่อของตน ผู้บันทึกเสียงก็จะต้องพูดออกชื่อไว้ในเทปหรือจดชื่อผู้พูดและหมายเลขระยะไว้ เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นคำอภิปรายของใคร และควรบันทึกหมายเลขระยะเทป เมื่อขึ้นเรื่องใหม่หรือประเด็นสำคัญไว้ด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบบันทึกแต่ละตอนได้โดยสะดวก ทั้งนี้อาจบันทึกสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเห็นว่าจำเป็นสำหรับการจัดทำรายงานการประชุมในภายหลัง
อนึ่ง การบันทึกเสียงการประชุมที่มีจุดประสงค์เพื่อนำไปจัดพิมพ์เป็นเอกสารจำหน่าย จำเป็นที่จะต้องได้รับอนุญาตจากที่ประชุมหรือวิทยากรเสียก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดการฟ้องร้องในภายหลังได้ แต่ถ้าเป็นการบันทึฤฤ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)