วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นิทานเรื่อง เจ้าป่าพาสุข

นิทานเรื่อง เจ้าป่าพาสุข
 
แต่งโดย นางสาวรวงทอง  มาตผล
คบ.ภาษาไทยหมู่ 3 รหัส 533410010326
คณะครุศาสตร์
จำนวน 13 หน้า
 
1
 
2
 3
 4
 5
 6
 7
 8
 9
 10
 11
 12
 13
สามารถดาวน์โหลดได้คลิกที่นี่
 
 

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555


โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย


ณ. “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์”



         โครงการบ้านหลังเรียน “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์” บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ “ปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช” อดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรือ “อาจารย์ป้าต๋อย” ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ

สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่

โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย


โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช

แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมย์บรรพบุรษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน
     
      แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

 โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา

สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการคลิกที่นี่

ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ๊ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์


  

ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ๊ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์

      ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ๊คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย
        นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมา
อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ๊ค (e-book) ด้วย อย่าลืมบล็อก atinno.blogspot.com นะค่ะ ^___^!!!!!

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย



ภาษาบาลี สันสกฤต 

วรรค/แถว 
 
 
 
 
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรค
ย ร ล ว    ห ฬ   (อัง)
          ( ,ษ ) (สันสกฤต)
 ท่องว่า
วรรคกะ   ไก่      ไข่       ควาย        ฆ่า          งู
วรรคจะ   จับ      ฉัน         ชู        ฌ เฌอ    หญิง
วรรคฏะ    ฏัก     ฐาน      ฑอ         เฒ่า        ณิง
วรรคตะ    เต่า     ถูก        ทิ้ง          ธง       นาย
วรรคปะ   ปลา     ผัก       พัก          ภพ          ม้า
เศษวรรค    ยาย  เรา  เล่า  ว่า  เสือ  หาย  แฬ้ว   (อัง)





ในภาษาบาลีจะมีการใช้ตัวสะกดตัวตามที่แน่นอนตามกฎเกณฑ์  คือ
ในภาษาบาลีแถวที่จะใช้เป็นตัวสะกดได้คือแถวเลขคี่  คือ  ๓ และ   ดังนี้
แถวที่    สะกด     แถวที่  ,   ตาม
แถวที่    สะกด    แถวที่  ,   ตาม
แถวที่    สะกด    แถวที่    ตาม

                                        *** ตัวอย่างคำ  ***
แถวที่ ๑ สะกด  อุาบาต  ทุข์  กิ() สั  มั  วั()สงสาร  เม  วัถุ
แถวที่ ๓ สะกด  อัคี  พยัฆ์  รั()กาล  มัฌิ  วั()นา  วุ()ฒิ  นิาน
แถวที่ ๕ สะกด  บัลังก์  สัข์  ค์  เกฑ์  นิมต์  นัท์  กันาท  สัผั
*** ตัวหนา = ตัวสะกด         ตัวเอียง = ตัวตาม


การเป็นพิธีกรที่ดี





การเป็นพิธีกร

หน้าที่ของพิธีกร
พิธีกร (Master of Ceremony: MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ ในแต่ละกิจกรรม

1. แจ้งกำหนดการ
2. แจ้งรายละเอียดของรายการ
3. แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ
2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น
1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
3. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน

3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น

1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
3. แจ้งขอความร่วมมือ
4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
5. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี / รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น
6. กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี
7. กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ
8. กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล
4. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น
1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
2. มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ 
5. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น 1. กล่าวละลายพฤติกรรม
2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี
6. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

โฆษกผู้ประกาศ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร กับประชาชน เพื่อให้ได้รับความสนับสนุนร่วมมือ อันจะทำให้กิจการงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่แตกต่างในแต่ละกิจกรรม เช่น

• การบอกกล่าว
• การชี้แจง 
• การเผยแพร่
• แก้ความเข้าใจผิด
• การสำรวจประชามติ

บทบาทการทำหน้าที่ของโฆษกผู้ประกาศ โดยการใช้เครื่องมือด้านสื่อต่าง ๆ เช่น เอกสาร สื่อวิทยุโทรทัศน์ จัดเวทีประชาคม เดินสำรวจประชามติ เป็นกระบวนการประชาสัมพันธ์ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป เช่นกระบวนการจัดกิจกรรมโดยใช้เวทีประชาคม ผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ ในการควบคุม ดำเนินการให้ไปตามวัตถุประสงค์ในแต่ละครั้ง ผู้ที่เป็นพิธีกรในการดำเนินการรายการดังกล่าว จะต้องมีความเข้าใจ ในกระบวนการ และรู้หลักการวิธีการ ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น ๆ เป็นภาระหน้าที่ของพิธีกรทั้งสิ้น ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้อง ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพิธีกรดังต่อไปนี้
พิธีกร คือ บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตนจากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น ไม่ใช้สักแต่จะพูดอย่างเดียวไม่ มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่จะต้องรับผิดชอบในด้านการพูดในตำแหน่งพิธีกร ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง ๆ พิธีกรหรือโฆษก อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในกิจกรรมนั้น ๆ สร้างความเข้าใจในข้อมูล ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของข้อเท็จจริง ให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้อง ปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม พิธีกร จะถูกกล่าวถึงมากในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนโฆษกจะเป็นคำที่เรียกใช้ในส่วนที่ก่อนถึงเวลาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ หรือบางครั้งในท้องถิ่นชนบทจะเรียกรวมกันเช่น “ โฆษกพิธีกร ดำเนินการ ต่อไป ” ไม่ว่าจะเรียกว่าพิธีกรหรือโฆษกในกิจกรรมนั้น ๆ จะต้องเป็นการพูดคุยในที่ชุมชน นั่นคือต่อคนส่วนมากทุกครั้งเป็นการพูดในที่ชุมชน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หากพูดผิดก็จะทำให้เสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร และถ้าหากทำดีพูดดีก็จะมีสง่าราศีแก่ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิต ของสุนทรภู่ที่ว่า
“ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง ”
ฉะนั้น คนที่เป็นพิธีกรที่ดี มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้ เช่น

• เตรียมพร้อม
• ซ้อมดี
• ท่าทีสง่า
• หน้าตาสุขุม
• ทักที่ประชุมอย่าวกวน
• เริ่มต้นให้โน้มน้าว
• เรื่องราวให้กระชับ 
• จับตาที่ผู้ฟัง 
• เสียงดังให้พอดี 
• อย่าให้มีอ้ออ้า 
• ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา

บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่ จะมี 2 กลุ่มคือ

1. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
2. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ ไหวพริบทุกคนทำได้





การสร้างคำ



เรื่อง  การสร้างคำ

    พยางค์   คือ    เสียงที่เราเปล่งออกมาครั้งหนึ่ง  อาจจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้



        องค์ประกอบของคำ 
                คำประกอบด้วยพยางค์และความหมาย   พยางค์ที่ไม่มีความหมายไม่ว่าจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ไม่จัดเป็นคำ

              พยางค์ที่มีความหมายอาจเป็นพยางค์เดียว  หรือหลายพยางค์ก็ได้จะมีลักษณะเป็นคำ  เช่น   

              ตา                           ๑    พยางค์       ๑  คำ

              มะพร้าว                  ๒    พยางค์       ๑  คำ

              กะละมัง                   ๓    พยางค์       ๑  คำ 



การสร้างคำ
          การสร้างคำแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท  คือ

๑.      คำมูล  ซึ่งได้แก่คำที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะ

๒.   คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล



คำมูล  คือ  คำที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะคำหนึ่ง  ๆ   อาจเป็นคำไทยแท้  คำที่มาจากภาษาอื่นและเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้  เช่น  ป้า  แม่ หมอน   ลูก  ปลา  ทอง  เกี๊ยว  ไมล์   กุญแจ  มะนาว  นาฬิกา  กะลาสี    กระจุ๋มกระจิ๋ม 



คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล

        จะมีรูปลักษณ์ต่าง ๆ กัน  ดังนี้

          ๑.  คำประสม                         

          ๒.  คำซ้อน   

          ๓.  คำซ้ำ                           

          ๔.  คำสมาส